|
ฎีกาที่ 1275/2543 ข้อตกลงห้ามทำงานกับคู่แข่งทางการค้าของนายจ้าง บังคับได้หรือไม่![]() ![]() ![]() ธุรกิจการค้าปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก ทั้งเรื่องเทคโนโลยี หรือฐานลูกค้านั้นมีความสำคัญกับการทำธุรกิจมากโดยเฉพาะธุรกิจที่มีขนาดใหญ่และมีคู่แข่งทางการค้า ความลับทั้งหลายทางธุรกิจดังกล่าวบริษัทนายจ้างมีความต้องการไม่ให้รั่วไหลไปให้ฝ่ายคู่แข่งล่วงรู้ แต่ก็มีปัญหาตรงที่ว่าเมื่อเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างไปแล้ว ลูกจ้างนั้นจะไปทำงานหรือเอาความลับไปให้คู่แข่งทางธุรกิจหรือไม่ นายจ้างจึงทำสัญญาจ้างกำหนดข้อตกลงห้ามไม่ให้ลูกจ้างไปทำงานให้กับบริษัทอื่นๆในขณะที่ทำงานอยู่หรือหลังพ้นจากเลิกสัญญาจ้างกัน ปัญหานี้มีมาทุกสมัยว่าข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้หรือไม่ เพียงไรนั้น เรื่องขึ้นสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาได้วางแนวหลักคำพิพากษาศาลฎีกาไว้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1275/2543 “สัญญาแนบท้ายสัญญาจ้างมีข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างว่า ในขณะที่ทำงานเป็นลูกจ้างและหลังพ้นสภาพลูกจ้างไปแล้วเป็นระยะเวลา 5 ปี ลูกจ้างไม่กระทำการใดหรือเข้าทำงานในบริษัทคู่แข่งที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่ง การขนย้ายและจัดเก็บสินค้าภายในประเทศไทย สาธารณรัฐเวียดนาม กัมพูชา สามธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและพม่า หากฝ่าฝืนตกลงจ่ายเงินให้นายจ้างเป็นเงิน 1,000,000 บาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างดังกล่าว เป็นเพียงข้อจำกัดห้ามประกอบอาชีพอันเป็นการแข่งขันกับนายจ้าง โดยระบุจำกัดประเภทของธุรกิจไว้อย่างชัดเจน มิได้เป็นการห้ามประกอบอาชีพอันเป็นการปิดทางทำมาหาได้ของลูกจ้างอย่างเด็ดขาดและลูกจ้างสามารถประกอบอาชีพหรือทำงานในบริษัทประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือบริการอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือข้อตกลงนี้ได้ ขอบเขตพื้นที่ที่ห้ามเฉพาะประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศในแหลมอินโดจีน มิได้รวมถึงประเทศใกล้เคียงอื่นๆด้วย ลักษณะของข้อตกลงที่ก่อให้เกิดหนี้ในการงดเว้นการกระทำตามที่กำหนดโดยความสมัครใจของคู่กรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของลูกข้างเสียทั้งหมดทีเดียว เพียงแต่เป็นการห้ามประกอบอาชีพบางอย่างที่เป็นการแข่งขันกับนายจ้างในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นไปโดยชอบในเชิงของการประกอบธุรกิจ ไม่เป็นการปิดการทำมาหาได้ของฝ่ายใดโดยเด็ดขาดจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ ข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ ลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทอื่นซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับนายจ้างหลังจากนายจ้างเลิกจ้างแล้วภายในกำหนดระยะเวลาห้าม อันเป็นการผิดสัญญาซึ่งลูกจ้างต้องรับผิด แต่ความรับผิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่ง การกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลยพินิจของศาลแรงงงาน ” หลักเกณฑ์ตามแนวคำพิพากษาฎีกานี้ ที่ถือว่าข้อตกลงใช้บังคับได้คือ
หากข้อตกลงในสัญญาจ้างดังกล่าวมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการประกอบอาชีพมากเกินสมควร จนลูกจ้างต้องรับภาระมากกว่าที่ควรจะเป็น ศาลมีอำนาจที่จะปรับลดข้อตกลงให้เป็นธรรมแก่คู่กรณีได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 5
|
|
![]() |
![]() |
Miracle Consultant Limited
1/828 การ์เด้นโฮม ช้อปปิ้ง พลาซ่า หมู่ที่ 17 ถนนพหลโยธิน
ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 Tel : 02-5316729-30 E-mail : webmaster@miracleconsultant.com |